Page 69 - 005
P. 69
57
ตารางที่ 6-4 (ต่อ)
รายละเอียดของการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 5 การให้บริการในแต่ละบทปฏิบัติการ
บทปฏิบัติการที่ 1 บทนำ
การเตรียมความพร้อม ก่อนให้บริการของแต่ละบทปฏิบัติการ
1) เตรียมเอกสารรายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) เท่ากับจำนวนนักศึกษาที่ลงในวิชาเรียน ซึ่งมี
การแจกในภาคบรรยายแล้ว (หรือการให้เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์)
2) ปรึกษากับอาจารย์ผู้สอน เกี่ยวกับการอธิบายรายละเอียดของบทปฏิบัติการ โดยมีข้อตกลงร่วมกันก่อนมี
การเรียนการสอน โดยการอธิบายรายวิชาทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ควรมีการอธิบายร่วมกันทั้งอาจารย์ผู้สอน
และนักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบบทปฏิบัติการ
3) จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างแมลง (ดังตัวอย่างประกอบภาพที่ 1) ต่อกลุ่มๆ ละ 2 คน
โดยกรอกในแบบฟอร์มการเบิกอุปกรณ์ (ภาคผนวก A-1, เอกสารนี้จะปรากฎในภาคผนวกของคู่มือ) ประกอบด้วย
- เข็มเซ็ทแมลง เบอร์ 0 และ เบอร์ 2 อย่างละ 10 เล่ม รวม 20 เล่ม
- กล่องเลี้ยงแมลง (เจาะฝา) เบอร์ 232 และเบอร์ 887 อย่างละ 2 กล่อง
- กล่องเก็บตัวอย่างแมลง (ไม่เจาะฝา) เบอร์ 886 จำนวน 1 กล่อง โดยให้นักศึกษาจัดทำกล่องเก็บเองในชั่วโมงเรียน
ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มเติมคือ ลูกเหม็น (เม็ดเล็ก) แผ่นโฟม (หนา 1 cm) กระดาษขาว A4 ผ้าขาวบาง และเข็มหมุดหัวสี
- ไม้เซ็ทแมลง 1 อัน
- กระดาษไขสำหรับเซ็ทแมลง
- ขวดดองแมลงพร้อมบรรจุแอลกอฮอล์ 70-75% ขนาดขนาด 10 ml จำนวน 5 ขวด (สำรองขวดดองแมลงขนาด
250 ml ไว้ สำหรับการดองแมลงที่มีขนาดใหญ่ โดยให้กลุ่มที่ต้องการเบิกเป็นกรณีๆ ไป)
- กระดาษบันทึกประจำตัวแมลง
- กระดาษสามเหลี่ยมสำหรับเซ็ทแมลงขนาดเล็ก
- ขวดน๊อคแมลง 1 ขวด โดยให้นักศึกษาจัดทำขวดน๊อคแมลงด้วยตนเองในชั่วโมงเรียน ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ใช้คือ ขวด
แก้ว (นักศึกษานำมาเอง) สำลี กระดาษทิชชู กระดาษแข็ง และสาร ethyl acetate
- ตู้อบแมลงเคลื่อนที่ (home-made incubator) สำหรับการนำแมลงไปอบแมลงนอกสถานที่ นักศึกษาสามารถ
ยืมไปใช้ได้เป็นกรณี ๆ ไป
ตัวอย่างประกอบภาพที่ 1 ชุดอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างแมลง
แนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงานจากงานประจำ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา